การปลูกอินทผลัม สามารถปลูกได้ ๓ วิธี คือ
- การเพาะเมล็ด ถือเป็นการปลูกอินทผลัมที่เป็นการลงทุนที่ต่ำที่สุด ราคาต้นกล้าไม่ถึงกับสูงมาก แต่ก็เป็นเรื่องปกติของอินทผลัมที่ปลูกจากการเพาะเมล็ุด ที่ปลูกลงแล้วจะอาจจะต้องมีการตามลุ้นเรื่องต่างๆ เช่น รอลุ้นต้นตัวผู้ ต้นตัวเมีย การกลายพันธุ์ (ดังที่กล่าวไว้ในข้อ ๒ และ ข้อ ๓ ด้านล่าง)
- การแยกเหง้า อินทผลัมจะมีเหง้าแตกออกมาทางโคนด้านล่างของต้น ในต่างประเทศจะมีการขุดแยกเหง้า หรือตอนให้เกิดราก จากต้นแม่พันธุ์ดี เพื่อนำมาปลูก จะได้ต้นตัวเมียตามพันธุ์นั้นๆ แน่นอน ในประเทศไทยในตอนนี้ ยังไม่มีต้นพันธุ์แบบนี้ขายในเชิงพาณิชย์แน่นอน แม้จะมีบ้างก็คงเป็นกลุ่มผู้ที่ทดลองปลูกร่วมกันอยู่แลกเปลี่ยน ขาย หรือแบ่งปันกันไปทดลองปลูก ถ้าต้องการคงต้องไปค้นหาข้อมูลจากต่างประเทศ แต่ราคาจะสูงแน่นอน
- เพาะเนื้อเยื่อ เป็นการขยายต้นตัวเมียพันธุ์ดีๆ แบบจำนวนมาก จะได้ต้นตัวเมียตามพันธุ์นั้นๆ แน่นอน เป็นอีกวิธีการปลูกที่ต่างประเทศนิยมนำไปปลูกในเชิงพาณิชย์ ราคาต่อต้นสูงพอสมควร และในประเทศไทยยังไม่มีต้นแบบนี้ขาย ต้องสั่งจากต่างประเทศ เิริ่มมีคนสั่งเข้ามาทดลองปลูกบ้างแล้ว แต่จำนวนไม่มาก ทราบมาว่า ถ้าจะสั่งจะต้องสั่งเป็นล๊อตใหญ่ๆ เขาถึงจะส่งให้ หากใครมีทุนพอ ลองค้นหาข้อมูลห้องแล๊บต่างประเทศที่เขาขายแ้ล้วลองสอบถามกันดูได้
ในประเทศที่ปลูกในเชิงเศรษฐกิจจะปลูกแบบแยกเหง้าจากต้นแม่พันธุ์ดี และ การปลูกจากต้นเพาะเนื้อเยื่อ กันเป็นส่วนใหญ่ เพราะจะได้ต้นตัวเมียพันธุ์ดีแน่นอน ได้พันธุ์นั้นๆ แน่นอน จึงไม่นิยมที่จะปลูกกันแบบเพาะเมล็ดกัน การปลูกจากการเพาะเมล็ดจะปลูกกันในเชิงวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์มากกว่า
แต่การปลูกแบบแยกเหง้าจากต้นแม่พันธุ์ดี และ การปลูกจากต้นเพาะเนื้อเยื่อ จะใช้ต้นทุนมาก โดยเฉพาะในประเทศไทยเราที่ต้องสั่งนำเข้าจากต่างประเทศ ต้นทุนต่อต้นสูงพอสมควร การสั่งแต่ละครั้งจะต้องสั่งเป็นชุดใหญ่ๆ เขาถึงจะส่งให้ ทั้งอินทผลัมยังเป็นพืชใหม่ในประเทศไทย การจะทุ่มทุนเพื่อปลูกต้นที่ต้องลงทุนสูงแบบสั่งเข้ามา โดยผู้ปลูกไม่มีความรู้ความเข้าใจในการปลูกเลยก็เป็นความเสี่ยงเหมือนกัน
การปลูกแบบเพาะเมล็ด แม้จะมีความเสี่ยงเรื่องลุ้นต้นตัวผู้ตัวเมียและการกลายพันธุ์ แต่ก็จะเป็นการประหยัดต้นทุนการปลูกมากกว่า ทั้งยังจะมีโอกาสได้พันธุ์ใหม่ๆ ที่เกิดจากการกลายพันธุ์ มีการปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิศาสตร์ของประเทศเราได้ดี มีอินทผลัมพันธุ์แบบไทยๆ ของเราเองในอนาคต ตัวผู้ปลูกเองก็จะได้ศึกษาเรื่องอินทผลัมไปในตัวด้วย เป็นการสั่งสมประสบการณ์อย่างหนึ่งได้เหมือนกัน
โดยส่วนตัวนั้น ที่กำลังทดลองปลูกด้วยการเพาะเมล็ดนั้น แม้จะเต็มไปด้วยความเสี่ยงที่จะต้องรอลุ้นในอนาคตหลายอย่างก็ตาม ได้ลองประมวลดูว่าจะมีข้อดีอย่างไรในการปลูกด้วยการเพาะเมล็ดแบบที่เราทำอยู่นี้ เช่น
- ประเทศเรายังใหม่อยู่กับเรื่องการปลูกพืชชนิดนี้ การเริ่มต้นพัฒนาการปลูกด้วยการเพาะเมล็ด น่าจะช่วยเพิ่มประสบการณ์และการเรียนรู้เกี่ยวกับอินทผาลัมมากยิ่งขึ้น ในอนาคต จะนำไปสู่การพัฒนาเรื่องการปลูกด้วยวิธีอื่นๆ มากยิ่งขึ้น ทั้งการปลูก การศึกษาเรื่องสภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม การดูแลรักษา ถ้าได้เรียนรู้พื้นฐานจากการปลูกด้วยเมล็ดมาก่อน น่าจะเป็นบทเรียนที่ดีแก่ผู้ที่สนใจพืชชนิดนี้และต้องการปลูกด้วยวิธีซื้อต้นพันธุ์จากการเพาะเนื้อเยื่อหรือแยกเหง้ามาปลูก
- เราจะได้พันธุ์ใหม่แบบของไทยเราอย่างแท้จริง (รวมทั้งของโลกด้วย) การเพาะเมล็ดแบบนี้ จะช่วยสร้างพันธุ์อินทผาลัมพันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นในโลกได้แน่นอน หากมีการกลายพันธุ์ไปในลักษณะที่พึงประสงค์หรือกลายดี ยิ่งจะเป็นของขวัญชิ้นใหญ่ให้กับผู้ปลูกนั้นๆ ได้ด้วย และหากมีการผสมเกสรข้ามสายพันธุ์แบบไทยๆ ของเราแล้ว เชื่อว่า ในอนาคต จากจุดเล็กๆ ที่กำลังทำกันอยู่นี้ จะสร้างสิ่งใหญ่ๆ ได้ จริงๆ เพียงแค่ต้นใหม่เกิดขึ้นมา เราก็ถือว่าได้พันธุ์ใหม่แล้วค่ะ เคยได้ยินท่านที่พอจะมีความรู้กล่าวว่า เมื่อนำมาเพาะใหม่แล้ว เราสามารถตั้งชื่อพันธุ์ใหม่ได้เลยตั้งแต่ต้น เพราะจะถือเป็นพันธุ์เก่าไม่ได้แล้วจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่เกิดมาใหม่ (ไม่รู้ใช้คำถูกไหม)
- แน่นอนที่สุด คือ ประหยัดต้นทุนแน่ๆ เพราะถือเป็นการลงทุนที่ต่ำ เริ่มต้นแบบง่ายๆ จากการเพาะเมล็ดที่ไปซื้อเนื้อมาทาน เมล็ดก็เก็บเพาะไปเรื่อยๆ มีความสุขจากการเห็นต้นมันค่อยๆ โตมาเรื่อยๆ แม้หากว่าอาจจะมีความผันแปรจากปัญหาใดปัญหาหนึ่งในอนาคต การลงทุนที่ต่ำแบบนี้ก็น่าจะทำให้ไม่ถึงกับต้องมานั่งกุมขมับแน่นอน
อินทผลัมเป็นพืชที่มีต้นตัวผู้ ต้นตัวเมีย ต้องอาศัยการผสมเกสรจึงจะติดผล และต้นตัวเมียเท่านั้นจึงจะติดผล การเพาะเมล็ดแล้วนำมาปลูกจะต้องลุ้นต่อไปอีกว่าจะได้ต้นตัวผู้หรือตัวเมีย การปลูกจะต้องมีทั้งต้นตัวผู้และตัวเมียเพื่อใช้ผสมเกสรจึงจะติดผลเหมือนกับการปลูกสละ อัตราส่วนระหว่างต้นตัวผู้กับตัวเมียนั้นอยู่ระหว่างการหาข้อมูลเพิ่มเติมว่าควรใช้เท่าใด บางแห่งบอกไว้ในอัตราสูง บางแห่งบอกไว้ในอัตราต่ำ
การที่มีบางแห่งบอกว่า เคยนำเมล็ดจากตะวันออกกลางมาปลูกแล้วไม่ติดผลบ้าง ออกดอกแล้วก็หายไปบ้าง ติดผลไม่สวยบ้าง ส่วนใหญ่มาจากความไม่เข้าใจเรื่องอินทผลัมต้องใช้การผสมเกสรตัวผู้และตัวเมียนี่เอง หรืออาจจะมาจากต้นที่ปลูกนั้นไม่ใช่อินผทลัมพันธุ์ทานผล แต่เป็นอินทผลัมพันธุ์ประดับ จึงไม่ติดผลให้เห็น อีกอย่าง อาจจะมาจากสภาพการดูแลเรื่องปุ๋ยและน้ำไม่เพียงพอก็เป็นได้
๓. การกลายพันธุ์ของต้นตัวเมีย
แม้ได้ต้นตัวเมียซึ่งเป็นต้นพันธุ์ที่ต้องการแล้วก็ตาม ผู้ปลูกต้องเข้าใจเรื่องแปรปรวนของพันธุ์ที่จะได้ เราเรียกกันว่า "การกลายพันธุ์" ซึ่งผู้ปลูกจะมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการกลายพันธุ์อีก ซึ่งเป็นเรื่องปกติของพืชที่เกิดจากเมล็ดอยู่แล้ว ผู้เขียนขอสรุปด้วยภาษาแบบชาวบ้านๆ ว่า การปลูกพืชด้วยเมล็ดมีความเป็นไปได้ที่จะได้พันธุ์ใน ๓ ลักษณะ คือ
- กลายดี ได้ต้นพันธุ์ที่มีลักษณะดีกว่าต้นพันธุ์เดิม ข้อนี้ เราคงจะเห็นการได้พันธุ์ใหม่ๆ ของพืชหลายชนิดในประเทศไทยเรา อันเนื่องมาจากการกลายดี เป็นลักษณะที่ต้องการของคนปลูกพืชที่ต้องการได้การกลายลักษณะนี้
- กลายเสีย ได้ต้นพันธุ์ที่เสียลักษณะเดิมไป ไม่มีความเด่น เช่น ผลเล็กกว่าเดิม รสชาติเปลี่ยนแปลงไปจากต้นพันธุ์เดิม การการเสียลักษณะนี้ ไม่เป็นที่ต้องการสำหรับคนปลูกพืชจากการเพาะเมล็ด แต่อย่างไรก็ตาม การกลายเสียลักษณะนี้ เป็นผลดีที่ต้องการสำหรับพืชบางชนิด เช่น สะเดา มะขามเปรี้ยว เป็นต้น การกลายเสียของพืชดังกล่าวมา กลับเป็นข้อดี อินทผลัมหากจะมีการกลายเสียลักษณะนี้ เช่น หวานน้อยลง เป็นต้น ก็ถือเป็นความโชคดีได้เหมือนกัน
- เสมอตัว ได้ต้นพันธุ์ที่มีลักษณะเดียวกับต้นพันธุ์เดิมทุกประการไม่เปลี่ยนแปลง ต้นพันธุ์เดิมมีลักษณะอย่างไร ก็จะได้ลักษณะอย่างนั้น
การเพาะเมล็ดอินทผาลัมก็มีลักษณะเดียวกัน คือ กลายดี เสมอตัว และกลายเสีย หากได้ต้นตัวเมียกลายดีและเสมอตัว ก็น่าจะเป็นที่พอใจ
เป็นอีกข้อหนึ่งที่ผู้จะทดลองปลูกอินทผลัมจากเมล็ดทั้งหลายควรทราบไว้ จะมีเหตุผลใดประกอบการตัดสินใจก็คงเป็นไปตามความพอใจของแต่ละท่าน ส่วนตัวผู้เขียนเองมีเหตุผลส่วนตัวที่ตัดสินใจปลูกสำหรับประเด็นนี้ คือ "หากเราคิดเป็นอัตราส่วนดังที่ผู้เขียนสรุปมาสามอย่างแล้ว เรามีโอกาสได้ลักษณะที่พึงประสงค์สองส่วน และอาจจะได้ลักษณะที่ไม่พึงประสงค์หนึ่งส่วน ทั้งในหนึ่งส่วนนี้ แม้จะเป็นลักษณะทีไม่พึงประสงค์ แต่หากกลายไปในลักษณะเด่น เช่น หวานน้อยลง เมล็ดเล็กลง เป็นต้น เราก็ยังมีโอกาสได้ส่วนนี้เพิ่มเติมอีก เป็นอัตราส่วนที่พอรับได้สำหรับข้อนี้" ทั้งนี้ ใช่ว่า เหตุผลดังกล่าวจะสมบูรณ์นัก เพราะว่า อัตราส่วนที่่ว่า ควรเป็นอัตราส่วนของเมล็ดที่นำมาจากช่อเดียวกัน แต่เมล็ดที่เราได้มา เป็นเมล็ดที่คละกันมา อัตราส่วนดังกล่าวจะลดลงหรือเพิ่มขึ้นก็ต้องติดตามกันต่อไป
อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องกลายพันธุ์นี้ กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับพืชชนิดนี้อยู่ ข้อความเรื่องการกลายพันธุ์ดังที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่มีผลมากนักกับพืชประเภท "ไม่สมบูรณ์เพศ" อย่าง "อินทผลัม" ก็ได้
ข้อมูลนี้ อยู่ระหว่างการศึกษาเพิ่มเติม แล้วจะนำมาเล่าสู่กันฟังในภายหลังค่ะ ...
๔. ความเสี่ยงจากสภาพดินฟ้าอากาศและสภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากพื้นที่เดิมที่เป็นต้นกำเนิดของพืชชนิดนี้
อินทผาลัมมีถิ่นกำเนิดในพื้นที่แถบทะเลทราย อากาศแห้ง การนำมาปลูกในประเทศไทยเรา ซึ่งเป็นประเทศไทยเราเป็นประเทศร้อนชื้น สภาพอากาศที่แตกต่างกันแบบนี้ อาจจะมีผลทั้งต่อต้นที่จะอาจจะได้รับผลกระทบจากความชื้ได้น ในกรณีนี้ไม่จำกัดอยู่เฉพาะการเพาะจากเมล็ดเท่านั้น แต่จะรวมไปถึงการปลูกวิธีอื่นๆ ด้วย เช่น
- การดูแลในสภาพดินฟ้าอากาศบ้านเราที่แตกต่างจากพื้นที่ร้อนแห้งและทะเลทราย อาจจะแตกต่างกันและต้องปรับการวิธีดูแลให้เหมาะสม ข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญไม่ใช่เล่นเหมือนกันสำหรับการเริ่มต้นแบบนี้
มีความเป็นห่วงเรื่องนี้กันมากพอสมควร โดยเฉพาะเรื่องของพันธุ์ที่ปลูก จนมีการกล่าวกันในเชิงว่า "พันธุ์ทีปลูกในบ้านเรา ควรจะเน้นไปที่พันธุ์ทานผลสด ไม่ควรเน้นพันธุ์ทานผลแห้งที่อาจจะได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศร้อนชื้นในบ้านเรา ผลผลิตจากพันธุ์ทานผลแห้ง อาจจะได้รับผลกระทบจากความชื้นนี้ได้"
ปล. เป็นเหตุผลปัจเจกชน บางคนบอกว่าพันธ์กินผลแห้งดีด้วยเหตุที่ว่าเก็บไว้ได้นานข้ามปี แต่ต้องอบ จะเก็บได้นานกว่า สามารส่งออกนอกประเทศไกลๆๆ ได้สะดวก ง่ายกว่าพันธ์กินดิบมากๆๆแต่พันธ์กินสดจะมีอายุการเก็บสั้นกว่าจะ เน่าเสียหายง่ายไม่เหมาะส่งออกนอกประเทศไกลบ้านเราสักเท่าไหร่ ต้องดูแลกาขนส่งที่รวดเร็บ และต้องควบคุมอุภูมิให้ดีเพื่อความสด อร่อยเหมือนทานบนต้น(เป็นเหตุส่วนตัวเท่านั้น) ไม่เกี่ยวข้องกับการวิจัยใดๆๆ
ประเด็นนี้ โดยส่วนตัวกลับคิดว่า "ข้อมูลนี้ยังไม่มีการวิจัยอะไรเป็นทางการขนาดนั้น เป็นการคาดเดาเชิงคาดคะแนกันมากกว่า แม้จะมีข้อมูลบางแหล่งที่น่าเชื่อถือให้ข้อมูลนี้ เช่น ข้อมูลการแปลเอกสารต่างประเทศสั้นๆ ของนักวิชาการเกษตรแห่งหนึ่งที่ถูกอ้างอิงไปกล่าวกันมาก หรือแม้แต่บางแหล่งที่น่าเชื่อถือที่พยายามให้ข้อมูลนี้ เพราะอาจจะมาจากต้องการประชาสัมพันธุ์ต้นพันธุ์มากกว่า"
มีเหตุผลส่วนตัวแย้งประเด็นนี้ว่า "ด้วยสภาพอากาศในประเทศร้อนชื้นอย่างประเทศเรานี้ คุณจะปลูกพันธุ์ไหนก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นพันธุ์แบบทานผลสด หรือ จะเป็นพันธุ์แบบทานผลแห้ง น่าจะมีผลกระทบหมด พันธุ์ทานผลสดที่หลายคนอาจจะเข้าใจว่า "เหมาะที่จะปลูก" นั้น หลายคนคิดว่า "ไม่ต้องไปดูแลอะไรมาก ผลดิบแก่ได้ที่ก็เก็บผลผลิตเลย" แต่จริงๆ แล้ว เท่าที่ได้ติดตามข้อมูลของการปลูกในไทยเรา (หรือแม้แต่ในต่างประเทศที่มีสภาพอากาศแตกต่างจากไทยเล็กน้อย แต่หนักไปทางความชื้น) ช่วงที่ผลอินทผลัมพันธุ์ทานผลสดออกจำหน่าย ชนกับช่วงฤดูฝนพอดี หากไม่มีการดูแลอย่างดี ผลอินทผลัมก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน เช่น ผลไม่สวย มีโรค ผลร่วง เป็นต้น ส่วนพันธุ์ทานผลแห้ง อาจจะต้องดูแลมากยิ่งขึ้นต่อเนื่องไปจากนั้น แต่ด้วยระบบการจัดการในบ้านเราที่เก่งในการจัดการกับผลไม้ต่างๆ อยู่แล้ว เชื่อว่า เราจะมีวิธีการจัดการที่ดีได้แน่นอน"
สรุปว่า "ประเด็นนี้ คงยังสรุปไม่ได้ว่า ไทยเรานั้นควรปลูกพันธุ์ไหนถึงจะเหมาะสม เพราะทุกพันธุ์ที่ปลูกต้องได้รับการดูแลอย่างดีเหมือนๆ กัน การศึกษาถึงความเหมาะสมคงจะต้องมีการศึกษาเรื่องนี้กันมากยิ่งขึ้นต่อไป อย่าเพิ่งไปห่วงเรื่องผลผลิตที่จะได้ผลกระทบจากสภาพดินฟ้าอากาศที่แตกต่างกันมากนัก ปลูกให้โตก่อนเป็นเบื้องต้น วิธีจัดการค่อยว่ากันอีกทีเมื่อถึงเวลานั้น"
- ศัตรูพืชหลายๆ อย่าง อาจรบกวนมากกว่า ศัตรูพืชที่ว่า เริ่มจาก เริ่มจากใต้ดินมีปลวกและแมลงที่อาจจะรบกวนพวกรากของอินทผลัมได้ บนดินมีพวกแมลงต่างๆ ที่จะมากัดกินใบ พวกด้วงที่กัดกินต้นและยอด รวมทั้งพวกนก กระรอก กระแต หนู บ่าง และจำพวกสัตว์กินผลไม้ทั้งหลายที่เราควบคุมไม่ได้ สิ่งเหล่านี้ ในสภาพภูมิศาสตร์บ้านเราอาจจะมีมากกว่าในดินแดนทะเลทราย ซึ่งอาจจะสร้างปัญหาให้กับผลผลิตในอนาคตได้
- โรคต่างๆ ที่จะสร้างผลกระทบกับต้นอินทผลัม ข้อนี้น่าจะต้องศึกษากันมากหน่อยเป็นพิเศษ เพราะพืชชอบความแห้งมาเจอสภาพอากาศร้อนชื้นแบบนี้ สภาพความชื้นอาจก่อให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้เหมือนกัน อาจต้องปรับใจรับเรื่องนี้กันด้วย
เมื่อกล่าวถึงเรื่องโรคพืชของอินทผลัมแล้ว โดยส่วนตัวผู้เขียนคิดว่า ด้วยเหตุผลข้างต้นเกี่ยวกับความแตกต่างของสภาพดินฟ้าอากาศในบ้านเราแตกต่างจากถิ่นกำเนิดของมัน ท่านจะปลูกด้วยวิธีเพาะจากเมล็ด จากการแยกเหง้ามาปลูก หรือปลูกจากต้นพันธุ์ที่เพาะเนื้อเยื่อ ล้วนมีความเสี่ยงในเรื่องนี้เช่นเดียวกันทั้งหมด ดังนั้น ท่านที่อาจจะปลูกด้วยวิธีอื่นนอกจากการเพาะเมล็ด หากปลูกจำนวนน้อยๆ คงไม่ต้องห่วงอะไรมาก แต่ถ้าจะลงทุนปลูกจำนวนมาก ลงทุนสูงมาก ขอให้ตั้งสติสักนิดก่อน อยากจะให้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับโรคต่างๆ ที่จะเกิดกับต้นอินทผลัมในอนาคตสักนิด การปลูกจากการแยกเหง้ามาจากต้นตัวเมียหรือการปลูกจากต้นเพาะเนื้อเยื่อ แม้จะเป็นการรับประกันว่าเราไม่มีความเสี่ยงเืรื่องการลุ้นต้นตัวผู้ตัวเมียก็ตาม แต่ความเสี่ยงในปัญหาอื่นๆ โดยเฉพาะเรื่องโรคของอินทผลัมก็ใช่ว่าจะไม่มี อย่าลืมว่า ปัญหาเรื่องโรคต่างๆ (รวมทั้งปัญหารบกวนอื่นๆ) ที่ทำให้อินทผลัมตายในต่างประเทศนั้น เกิดขึ้นได้กับอินทผลัมในทุกรูปแบบ ไม่เว้นว่าเป็นต้นเกิดจากเมล็ด ต้นจากการแยกเหง้า หรือต้นเพาะเนื้อเยื่อ
ผู้เขียนถึงได้พยายามสื่อไปถึงกลุ่มผู้ปลูกอินทผลัมทุกกลุ่มที่ปลูกด้วยความสนใจเป็นพิเศษ วิธีปลูกของกลุ่มผู้ปลูกจากเมล็ดอาจจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ปลูกด้วยวิธีแยกเหง้าและจากต้นเพาะเนื้อเยื่อ ในขณะเดียวกัน ผู้ปลูกด้วยวิธีแยกเหง้าและต้นเพาะเนื้อเืยื่อก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ปลูกด้วยการเพาะเมล็ดด้วย การปลูกในทุกวิธีจะมีประโยชน์แก่กันและกันในเชิงศึกษาร่วมกันไปแบบนี้ จุดหมายปลายทางร่วมกัน คือ วิธีการจัดการดูแลเพื่อการพัฒนาการปลูกต่อไปในอนาคต ความคิดเห็นส่วนตัวที่แตกต่างอันเป็นที่มาของการเลือกวิธีปลูกแบบต่างๆ ของแต่ละท่านไม่เหมือนกันแน่นอน หากตั้งประเด็นขึ้นมา ก็จะหาจุดลงตัวไม่ได้ เพราะคนเราคิดไม่เหมือนกัน เราน่าจะหาจุดร่วมกันได้ในเชิงศึกษาถึงวิธีปลูก วิธีดูแล วิธีจัดการเรื่องวัชพืช ศัตรูพืช และโรคต่างๆ ฯลฯ ไปพร้อมๆ กันดีกว่า
ข้อความดังที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น แม้จะไม่ละเอียดมากนัก แต่อยากจะให้สร้างความเข้าใจถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ผู้ที่สนใจจะทดลองปลูกทั้งหลาย น่าจะได้ศึกษาข้อมูลพวกนี้ก่อนที่จะคิดปลูกอย่างจริงจัง
จึงฝากไว้สำหรับท่านที่สนใจที่จะทดลองปลูกอินทผลัมจากการเพาะเมล็ด ขอให้ศึกษาข้อมูลให้ดีก่อน และหากมีทุนมาก (มากพอสมควร) อยากกระโดดข้ามวิธีปลูกจากเมล็ด ซึ่งอาจจะมีความเสี่ยงจากการกล่าวข้างต้นไปปลูกด้วยวิธีอื่น คือ ปลูกจากต้นกล้าที่ได้มาจากการแยกเหง้า หรือ ต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเนื้อเยื่อ อาจจะไปลองค้นหาดูข้อมูลที่เขาสั่งมาจากต่างประเทศดูว่า ต้องสั่งยังไง ต้นเท่าไหร ล๊อตหนึ่งต้องสั่งเท่าไหร ขอให้เป็นไปตามความพร้อมของแต่ละท่านก็แล้วกัน
ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ควรตัดสินใจประกอบหากจะคิดจะปลูกด้วยวิธีอื่นที่ไม่ใช่การเพาะจากเมล็ด หากสนใจจะปลูกต้นที่แยกเหง้ามาจากต้นแม่และต้นที่ได้จากการเพาะเนื้อเยื่อ ซึ่งอาจจะต้องใช้ทุนจำนวนมาก "หากจะเริ่มต้นด้วยต้นทุนจำนวนมาก เราเข้าใจและศึกษาวิธีดูแลมันอย่างดีแล้วหรือยัง หากยังไม่เข้าใจมากนัก น่าจะเริ่มจากจำนวนน้อยๆ ไปก่อน เช่น ปลูกไว้สลับกับไม้ผลอย่างอื่นในจำนวนไม่กี่ต้อนก่อน เป็นต้น เพื่อศึกษาวิธีการดูแลอินทผลัมในสภาพภูมิอากาศบ้านเรา"
เรื่องเกี่ยวกับการปลูกอินทผลัม ไม่่ว่าจะเป็นเรื่องพันธุ์ วิธีการดูแล วิธีการปลูก ฯลฯ ที่กล่าวกันในประเทศไทยตอนนี้ เป็นข้อมูลที่ยังอยู่ระหว่างการศึกษาและกล่าวจากประสบการณ์กันเป็นส่วนใหญ่ ยังไม่สามารถจะบอกว่า "ใครรู้ลึกกว่าใคร เข้าใจมันดีมากกว่าใคร" ยังไ่ม่มีข้อมูลไหนสมบูรณ์ แม้แต่้ข้อมูลในเว็บนี้ อยู่ที่การศึกษาและประสบการณ์ของแต่ละท่านที่จะปรับให้เข้ากับการดูแลและพื้นที่ปลูกของตน
ผู้ปลูกอินทผลัมโดยความชอบส่วนตัวทุกท่าน ควรจะให้ข้อมูลแก่กันและกันและมองการปลูกในวิธีที่ต่างจากตนของผู้อื่นในเชิงสร้างสรรค์และเรียนรู้ร่วมกัน ยอมรับในวิธีของผู้อื่นที่ทำได้ผลสำเร็จ ทุกคำแนะนำที่เราแนะนำคนอื่นไปต้องมีทางออกไว้ให้เขาเสมอ ร่วมกันแชร์ประสบการณ์และการเรียนรู้ในวิธีของตนแก่ผู้อื่น เพราะจริงๆ แล้ว การปลูกในทุกวิธีในสภาพแวดล้อมบ้านเรา มีความเสี่ยงเหมือนๆ กัน ความเสี่ยงที่ผู้ปลูกในทุกวิธีต้องเจอแน่นอน คือ เรื่องความแตกต่างของสภาพแวดล้อมที่จะตามมาด้วยปัญหาต่างๆ เช่น ศัตรูพืช วัชพืช และที่ำสำคัญมากๆ คือ โรคต่างๆ ที่จะเข้าโจมตี อยู่ที่ว่าจะเสี่ยงมากเสี่ยงน้อยเท่านั้นเอง
สำหรับต้นที่กำลังทดลองปลูกอยู่ที่บ้านผักกาดหญ้า จ.ร้อยเอ็ดตอนนี้ หากมีคนมาถามด้วยความสนใจในความดังของมันในขณะนี้ ส่วนมากจะอยากทราบเรื่องการตลาดในอนาคต "เราจะไม่ชักชวนเขาในเชิงการค้าและอ้างความร่ำรวยในอนาคตจากผลผลิต แต่จะขอให้เขาไปศึกษาข้อมูลเรื่องพืชชนิดนี้ให้มั่นใจว่าตัวเองอยากปลูกจริงๆ จึงจะเริ่มคุยกัน หากเขามาถามเฉพาะ "เรื่องการตลาดในอนาคต ปลูกแล้วจะขายที่ไหน" ซึ่งข้อนี้ไม่ใช่ความผิดของเขา ทุกคนย่อมต้องการผลในอนาคตเพราะต้องลงทุน จะให้เขาไปศึกษาข้อมูลก่อน และหากเขาปลูกอะไรอยู่แล้วก็ให้ปลูกต่อไป ในขณะนี้ อินทผลัมควรเป็นแค่พืชปลูกเชิงทดลอง หรือ ปลูกแซมลงในพื้นที่ที่เหมาะสมในไร่เท่านั้น จะมากหรือน้อยอยู่ที่พื้นที่ที่เหมาะสมดังกล่าวนั้น"
คำเตือนที่อยากจะส่งผ่านถึงทุกท่านที่กำลังจะปลูกอินทผลัม
ผู้เขียนเริ่มต้นเพาะอินทผลัมตั้งแต่ปี ๒๕๕๓ โดยการเพาะครั้งนั้นเป็นความสนใจโดยส่วนตัว ไม่ได้คิดว่า กระแสการปลูกอินทผลัมจะแรงขนาดนี้ แต่ไม่ได้ตื่นเต้นอะไรไปกับเขา เพราะเราสนใจการปลูกจริงๆ ตั้งแต่แรก และถ้าจะกล่าวแล้ว ตอนเราเริ่มเพาะแรกๆ แทบจะมีผู้สนใจน้อยมากๆ ด้วย ไปถามชาวบ้านได้แต่สั่นศรีษะว่าไม่รู้จัก
แต่แล้วกระแสการปลูกก็เกิดขึ้น ... มีความเป็นห่วงแต่ท่านที่เพิ่งเริ่มเห็นเขาปลูก เห็นกระแสโฆษณาที่ดังพอสมควร โดยอ้างประโยชน์ที่ชาวบ้านจะได้รับจากการปลูก ให้ข้อมูลชาวบ้านในข้อดีและกำไรที่จะได้รับอย่างเดียว
ในฐานะที่เริ่มหันมาสนใจอินทผลัมมาช่วงหนึ่ง แม้จะยังไม่มีความชำนาญมากนักขนาดพูดในเชิงวิชาการได้ แต่ด้วยการเพาะด้วยตนเองมาก่อนที่จะมีกระแสเหล่านี้ นำลงปลูกบ้างแล้ว ต้นโตบ้างแล้ว และการเข้าไปค้นคว้าศึกษาข้อมูลต่างๆ มาบ้าง ทำให้เราพอเข้าใจเรื่องราวเบื้องต้นเกี่ยวกับพืชชนิดนี้อยู่บ้าง จึงอยากจะประมวลเรื่องราวดังกล่าวสรุปเป็นคำเตือนต่อท่านทั้งหลายที่กำลังคิดจะปลูกโดยการลงทุนจำนวนมากไว้ ดังนี้
๑. ผู้สนใจจะปลูกอินทผลัมด้วยการลงทุนจำนวนมากจากกระแสการโหมโฆษณา ควรคิดไว้เสมอว่า "การโฆษณา คือ การให้ข้อมูลในด้านดีด้านเดียว"
ท่านได้ศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้านก่อนจะปลูกด้วยทุนจำนวนมากนี้หรือยัง หากคิดปลูกเพียงแค่ผลกำไรจำนวนมากที่ท่านอาจจะได้รับในช่วงเวลาสั้นๆ ขอให้ตั้งสติพิจารณาสักนิด โปรดใช้บางเรื่องในอดีตที่ทำให้ชาวบ้านขาดทุนมากมายมาประกอบการพิจารณาด้วย
๒. การปลูกอินทผลัมด้วยการเพาะเมล็ดมีเงื่อนไขปัญหาที่ท่านอาจจะเจอในอนาคต
เงื่อนไขปัญหาที่ท่านอาจจะเจอ คือ การลุ้นต้นตัวผู้ ต้นตัวเมีย การกลายพันธุ์ ปัญหาจากศัตรูพืช โรค และสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างจากแหล่งกำเนิด ท่านเข้าใจเงื่อนไขเหล่านี้ที่อาจจะเจอหรือยัง
๓. อินทผลัมที่ปลูกจากการเพาะเมล็ดไม่ใช่พืชที่จะให้ผลผลิตได้เต็มที่ในช่วงอายุ ๓ ปีแรก
การปลูกอินทผลัมจากการเพาะเมล็ดนั้น การติดดอกออกผลให้เห็นในช่วง ๓ ปีแรก จะมีประโยชน์ในเชิงการทราบเพศเท่านั้น ไม่ใช่ผลที่มากมายพอจะขายในเชิงการตลาดได้ อินทผลัมต้นตัวเมียจะเริ่มติดผลและมากขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับระยะแรกประมาณช่วงอายุ ๓ ปี และจะติดผลมากขึ้นที่อายุประมาณ ๕ - ๗ ปี อยู่ที่การดูแลและขนาดของต้น
ทั้งมีความไม่แน่นอนว่าต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะติดดอกออกผลให้เห็นในช่วง ๓ ปีแรกทั้งหมด เพราะเท่าที่ติดตามดูข้อมูลของผู้ปลูกด้วยการเพาะเมล็ดในประเทศไทย บางแห่งย่างเข้าสู่ปีที่ ๕ ยังไม่ติดดอกให้เห็นก็มี จึงมีความไม่แน่อนมากๆ หากคิดจะลงทุนปลูกโดยหวังผลทางการขายผลอินทผลัมภายในระยะ ๓ - ๕ ปี ตามที่มีการโฆษณากัน ช่วงเวลาดังกล่าวยังเป็นผลิตที่ยังไม่มากขนาดนั้น แต่จะให้ผลผลิตแบบเริ่มมากขึ้น (ตามข้อมูลของต่างประเทศ) อายุประมาณ ๕ - ๗ ปีขึ้นไป และจะเริ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงอายุ ๑๐ ปี จึงจะเริ่มให้ผลสมบูรณ์เต็มที่
ดังนั้น คนที่คิดจะทดลองปลูกจากการเพาะเมล็ด หากปลูกผสมไว้ทานเองข้างบ้าน หรือ ปลูกสลับไว้ตามเทือกสวนไร่นา หรือ ปลูกเชิงทดลองศึกษา ก็คงไม่เป็นไร เพราะเรายังไ่ม่ได้จับมันเป็นพืชหลัก มีรายได้อื่นประจำอยู่แล้ว จะมีปัญหาอะไรตามมาก็ไ่ม่ได้กระทบกับเรา
แต่หากคิดจะปลูกจากการต้นที่เพาะจากเมล็ดแบบหวังผลเชิงเศรษฐกิจ ลงทุนจำนวนมาก กะจะขายเป็นเศรษฐีได้ในระยะ ๓ - ๕ ปีแรก อาจจะต้องพิจารณาสักนิด ด้วยเหตุผลที่กล่าวไว้ข้างต้น คนที่จะปลูกในเชิงเศรษฐกิจในอนาคตจำนวนมาก จะต้องมีงานประจำที่สร้างรายได้อยู่แล้ว หากทำเกษตรก็มีพืชชนิดอื่นๆ ที่ปลูกเป็นรายได้อยู่แล้ว หรือปลูกผสมผสานไว้ในไร่ที่มีการปลูกพืชประจำของตน เช่น ปลูกผสมไว้ในสวนผลไม้หรือไม้เศรษฐกิจอื่นๆ ปลูกผสมลงในไร่มันสำปะหลัง ไร่ข้าวโพด ริมคันนาในนาข้าว หรือ ปลูกทดแทนพืชอื่นๆ ที่เขาปลูกกัน เช่น ทดแทนการปลูกไม้ยูคาฯ เป็นต้น หรือมีที่ทางมากพอที่จะปลูก หากเป็นแบบนี้ สามารถที่จะปลูกได้ เพราะมีรายได้หลักทางอื่นประจำอยู่แล้ว แต่ถ้าปลูกแบบจะหวังผลจากมันในทันที ไม่มีรายได้หลักทางอื่น ต้องขอให้พิจารณาสักนิดหนึ่ง รวมทั้งพิจารณาไปถึงการโหมโฆษณาในขณะนี้ด้วย
๔. หากจะซื้อต้นกล้าอินทผลัมจากการเพาะเมล็ด ขอให้มั่นใจในแหล่งต้นกล้าพันธุ์ที่จำหน่าย
หากสนใจที่จะทดลองปลูกอินทผลัมจากการเพาะเมล็ด ขอให้มั่นใจในแหล่งที่มาของเมล็ดที่นำมาเพาะต้นกล้าขายนั้นๆ ด้วย เพราะปัจจุบันมีการเพาะต้นกล้าจำหน่ายจำนวนมาก ท่านจะซื้อที่ใดก็ได้ ขอเพียงมั่นใจในที่ไปที่มาของเมล็ดพันธุ์ที่นำมาเพาะต้นกล้าเท่านั้น เพื่อให้เราได้พันธุ์ตามที่ต้องการ ราคาของต้นกล้าพันธุ์ก็เป็นไปตามความเหมาะสมที่แหล่งขายนั้นๆ กำหนดไว้ ส่วนมากจะเป็นไปตามจำนวนใบ (ต้นเล็ก) ขนาดของต้น (ต้นใหญ่) ความเด่นของพันธุ์ พันธุ์ดีๆ ราคาแพงๆ ต้นกล้าก็จะแพงไปด้วย แต่ที่แน่ๆ ไม่ควรจะแพงมากจนเกินเหตุ เพราะผู้ซื้อยังต้องมาันั่งรอรับความเสี่ยงที่จะตามมาอีกมากมาย หรือบางแห่งมีการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์นั้นๆ ก็ขอให้มั่นใจในแหล่งที่มาของเมล็ดนั้นๆ ด้วย หรือหากจะปลูกอย่างไม่ซีเรียสอะไรมาก อาจจะไปซื้อเนื้อที่มีการขายตามท้องตลาดมาเพาะเอาเองก็ได้ ต้องการพันธุ์แบบไหนก็ลองซื้อมาเพาะเอาเองก็จะประหยัดไปได้มาก บางพันธุ์เพาะให้เกิดง่าย บางพันธุ์เพาะให้เกิดยาก
ส่วนแหล่งจำหน่ายต้นกล้าที่เพาะจากเมล็ดก็มีทั้งแบบที่ปลูกเองสำเร็จแล้ว และผู้ที่นำเมล็ดนำเข้าจากต่างประเทศมาเพาะขาย ชอบที่ไหน มั่นใจที่ไหน ก็ซื้อได้ที่นั่น
จริงๆ ไม่ว่าจะที่ไหนก็ตาม การขายต้นกล้าอินทผลัมเป็นสิทธิ์ที่ทุกคนจะกระทำได้ เหมือนการเพาะขายต้นไม้ทั่วไป แต่ต้นกล้าที่ขายกันนั้น ควรซื่อสัตย์ต่อผู้ซื้อต้นกล้าไปปลูก ให้ข้อมูลต่อผู้ซื้อกล้าไปปลูกบ้าง ซื่อสัตย์ในพันธุ์ที่นำมาเพาะขายต้นกล้า ราคาต้นกล้าเหมาะสมกับสภาพต้น อย่าใช้วิธีย้อมแมวขาย คือ นำพันธุ์ราคาถูกมาบอกว่าเป็นพันธุ์ราคาแพง เพราะไม่เช่นนั้น "มันจะเป็นการทุบหม้อข้าวตัวเอง" และจะมีผลกระทบต่อท่านอื่นๆ ที่ตั้งใจทำโดยสุจริต เงินของชาวบ้านที่ยอมเสียเพื่ออนาคต ควรจะเกิดขึ้นอย่างคุ้มค่า ...
๕. การอ้างเรื่องต้นตัวผู้ตัวเมียจากการวิจัย
กรณีมีการบอกว่า "เมล็ดลักษณะนี้จะเป็นต้นตัวเมีย เมล็ดลักษณะนี้จะเป็นต้นตัวผู้ หรือ ต้นลักษณะนี้จะเ็ป็นต้นตัวผู้ ต้นลักษณะนี้จะเป็นต้นตัวเมีย ลักษณะแบบนี้จะเป็นต้นตัวผู้ ลักษณะแบบนี้จะเป็นต้นตัวเมีย" เรื่องดังกล่าวนี้ ยังเป็นแค่การคาดคะเน สังเกต และพูดคุยแชร์กันในกลุ่มผู้กำลังทดสอบปลูกอินทผลัมจากเมล็ดเท่านั้น ยังไม่ใช่ข้อมูลที่จะถือเป็นหลักได้ หากมีการอ้างจากผู้ใดก็ตามที่ดำเนินการทางการค้าขายต้นโดยบอกว่า "มีนักวิชาการของเขาสามารถสังเกตเพศได้จากเมล็ด ต้นของเขาคัดเมล็ดแล้ว ถ้าซื้อจากเขาจะเป็นตันตัวเมีย" ขอให้ระมัดระวังไว้ด้วย
การศึกษาเรื่องนี้ มีความเป็นไปได้ในอนาคต ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาพอสมควรที่จะสังเกตได้ และการสังเกตนั้น อาจจะไม่เป็นไปดังนั้นแน่นอนทั้งหมด เหมือนการบอกเพศของต้นสละในปัจจุบัน แม้จะมีการสังเกตได้บ้างแล้ว แต่ก็ยังเป็นข้อมูลที่ไม่นิ่ง คนที่จะศึกษาจนทราบเพศแน่นอน คงจะต้องใช้เวลาพอสมควร และน่าจะต้องปลูกจนสำเร็จแล้วด้วย ไม่ใช่แค่มานั่งขายต้นกล้าอย่างเดียวแล้วบอกว่าลักษณะนั้นลักษณะนี้เป็นตัวผู้ตัวเมีย
๖. อย่าปล่อยให้ความโลภปิดบังข้อเท็จจริง